ประวัติ ของ อี ซึง-มัน

ชีวประวัติเริ่มแรก

อี ซึง-มัน (บนซ้ายสุด) ขณะจำคุกในปี พ.ศ. 2442

อี ซึง-มันเกิดเมื่อวันที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2418 เกิดในครอบครัวชนชั้นปกครองที่มีทรัพย์สินพอประมาณที่จังหวัดฮวางแฮ,เกาหลี เขาเป็นน้องคนสุดท้องจากพี่น้องทั้งห้าคน แต่อย่างไรก็ตามบรรดาพี่ของเขาก็เสียชีวิตตั้งแต่อายุยังน้อย โดยครอบครัวของอีนั้นสืบเชื้อสายมาจากกษัตริย์องค์ที่สามแห่งราชวงศ์โชซอน เมื่อเขาอายุได้ 2 ปี ครอบครัวของเขาก็ย้ายมายังโซล การศึกษาในช่วงเริ่มแรกของเขายังเป็นแบบธรรมเนียมโบราณคือเรียน วรรณกรรมจีน ถึงแม้ว่าเขาจะพยายามสอบเพื่อที่จะเข้ารับราชการ แต่เขาก็ไม่สามารถที่จะสอบเข้ารับราชการได้ เมื่อมีการปฏิรูปโดยยกเลิกระบบการศึกษาแบบโบราณ อีจึงเข้าไปเรียนในโรงเรียนเพเจ ซึ่งเป็นสถาบันที่ตั้งขึ้นโดยมิชันนารีชาวสหรัฐอเมริกา[3] อีเริ่มฝึกเรียนภาษาอังกฤษ และได้ทำหนังสือพิมพ์ของโรงเรียนคือหนังสือพิมพ์ เมอิล ซินมัน[4]

อีได้ไปเข้าชมรมเพื่อเอกราช เป็นการเคลื่อนไหวเพื่อปฏิรูปการเมืองในปี 2439 ในผลที่ตามมาจากการที่เขาประท้วงญี่ปุ่นที่เข้ามาแทรกแซงคาบสมุทรเกาหลี อีจึงถูกจับกุมด้วบข้อหาการปลุกระดมฝูงชนให้ต่อต้านรัฐบาลในวันที่ 9 มกราคม พ.ศ. 2442 อีล้มเหลวในการพยายามหลบหนีออกจากคุกและถูกทรมานและถูกพิพากษาจำคุกตลอดชีวิต ระหว่างถูกจำคุกนั้นอีได้ศึกษาหาความรู้จากหนังสือที่ลักลอบนำไปให้โดยเพื่อนหรือพวกทูต และต่อมาอีก็ได้เปลี่ยนมานับถือศาสนาคริสต์ขณะที่อยู่ภายในคุก และเริ่มต้นนำคัมภีร์ใบเบิลเข้ามาศึกษาในคุกกับเพื่อนที่อยู่ในเรือนจำด้วยกัน และเขายังเขียนบทความลงในหนังสือพิมพ์ และเริ่มต้นโครงการห้องสมุดสำหรับนักโทษซึ่งมีจำนวนหนังสือ 500 เล่ม อียังเขียนแถลงการณ์การเมืองอีกด้วยในชื่อว่า จิตวิญญาณของความเป็นเอกราช[4]

การเคลื่อนไหวเพื่อเอกราช

อี ซึง-มันในปี 2448

จากการประทุขึ้นของสงครามรัสเซีย-ญี่ปุ่น ทำให้การเมืองในเกาหลีมีการเปลี่ยนแปลง และอีก็ถูกปล่อยออกจากเรือนจำในปี พ.ศ. 2447 และหลังจากนั้นก็เดินทางไปยังสหรัฐอเมริกา เป็นไปได้ว่าอาจจะเป็นพระบรมราชโองการ สู่การประชุมสันติภาพและยุติสงคราม อีไปถึงวอชิงตัน ดี.ซี. ในเดือนธันวาคมในปีนั้น ไปพบกับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ จอห์น เฮย์ และประธานาธิบดีของสหรัฐอเมริกาธีโอดอร์ โรสเวลต์ ในการพูดคุยเพื่อสันติภาพในพอร์ทเมาท์ รัฐนิวแฮมป์เชียร์ และพยายามที่จะโน้มน้าวสหรัฐฯเข้ามาแทรกแซงและยอมรับสถานความมีอำนาจอธิปไตยของเกาหลี[5] แต่การเจรจาครั้งนี้ไม่ประสบความสำเร็จและเกาหลีก็กลายเป็นรัฐในอารักขาของญี่ปุ่นในปี 2448[4]ด้วยความช่วยเหลือของมิชชันนารี อียังคงอาศัยอยู่ในสหรัฐฯเพื่อศึกษาต่อ และได้รับปริญญาศิลปศาสตรบัณฑิต จากมหาวิทยาลัยจอร์จ วอชิงตัน ในปี 2450 และศิลปศาสตร์มหาบัณฑิตจากมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด ในปี 2453 และ ดุษฎีบัณฑิตจากมหาวิทยาลัยพรินซ์ตัน ในปีเดียวกัน สาขาที่อีศึกษาประกอบไปด้วย การเมือง,ประวัติศาสตร์,ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ,เทววิทยาและกฎหมาย และอีเริ่มเขียนชื่อของเขาถามวิธีแบบตะวันตก โดยเอาชื่อตัวไว้ก่อนชื่อสกุล[6]

อี ซีงมันกลับมายังเกาหลีในช่วงปลายปี 2453 และดำรงตำแหน่งเลขาธิการของสมาคมคนรุ่นใหม่คริสเตียนในโซล อย่างไรก็ตามญี่ปุ่นพึ่งผนวกเกาหลีและเริ่มต้นปราบปรามอย่างรุนแรงกับชุมชนชาวคริสต์ในเกาหลี อีก 15 เดือนถัดมาอีได้ออกจากเกาหลีไปยังสหรัฐอเมริกาโดยอ้างว่าไปเข้าร่วมการประชุมเมทอดิสต์ในฐานะที่เป็นส่วนหนึ่งของการถูกปราบปรามอย่างรุ่นแรง อีไปถึงฮาวายในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2455 และเริ่มต้นเปิดโรงเรียนสำหรับชาวคริสเตียนเพื่อผู้อพยพชาวเกาหลีและกลายเป็นมีส่วนร่วมในชุมชุนชาวเกาหลีอเมริกันในท้องถิ่นนั้น ซึ่งทำให้เกิดผู้อพยพขึ้นเปนจำนวนมากอันเนื่องมาจากเหตุการณ์ความไม่สงบจากการเมืองภายในประเทศ[6]

อี ซึง-มันและคิม คยูซิก ในปี 2462

ในปี 2454 อีได้กลับมายังเกาหลี (ซึ่งตอนนั้นถูกผนวกเข้าเป็นส่วนหนึ่งของญี่ปุ่นแล้ว) ในฐานะเป็นผู้ประสานงานของวายเอ็มซีเอและมิชชันนารี[7][8] การเคลื่อนไหวทางการเมืองของเขาเป็นจุดสนใจที่ไม่น่ายินดีนักของทหารญี่ปุ่น ในปี พ.ศ. 2462 บรรดาบุคคลสำคัญในขบวนการสนับสนุนการเป็นเอกราชได้ก่อตั้งรัฐบาลเฉพาะกาลแห่งสาธารณรัฐเกาหลีขึ้นที่เซี่ยงไฮ้ และอีก็ได้รับเลือกให้เป็นประธานาธิบดี และอยู่ในตำแหน่งนาน 6 ปี จนกระทั่งถูกถอดถอนออกตามการกล่าวหา (อิมพีชเมนท์) โดยสภาเฉพาะกาลสำหรับการใช้อำนาจไปในทางที่มิชอบ

อีได้ลี้ภัยโดยไปใช้ชีวิตที่สหรัฐอเมริกาในนิวยอร์กและวอชิงตัน ดี.ซี. และต่อจากนั้นก็ไปฮาวาย ซึ่งมีชุมชนชาวเกาหลีที่ลี้ภัยเนื่องจากกิจกรรมทางการเมืองที่ใหญ่ที่สุด ดอนเนอร์นั้นทำงานอยู่ในอเมริกาโดยมีตำแหน่งเป็นเลขนุการของอี โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการเตรียมหนังสือ "รู้นอกในญี่ปุ่น"(2483)

ภายหลังจากการพ่ายแพ้ในสงครามโลกครั้งที่สองของญี่ปุ่น อีได้กลับไปยังเกาหลีจากการสนับสนุนของรัฐบาลสหรัฐอเมริกา